การย้อมผมเป็นกิจวัตรด้านความงามที่แพร่หลายทั่วโลก โดยมีผู้ใช้งานหลายล้านคนทั้งเพื่อความงามส่วนตัวและอาชีพ แม้ยาย้อมผมจะช่วยเสริมความงาม แต่ส่วนประกอบทางเคมีของยาย้อมผมก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพ บทความนี้จะอธิบายเคมีที่ซับซ้อนของยาย้อมผม การแบ่งประเภท และผลกระทบต่อสุขภาพ โดยอ้างอิงผลการศึกษาจากงานวิจัย "ส่วนผสมในยาย้อมผมและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสยาย้อมผม"
การย้อมผมเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรความงามสำหรับผู้หญิงประมาณ 33% ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี และผู้ชาย 10% ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ความนิยมทั่วโลกของยาย้อมผมสะท้อนถึงความจำเป็นในการตรวจสอบความปลอดภัยและความเสี่ยงต่อสุขภาพ
ยาย้อมผมแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก:
● ยาย้อมชนิดออกซิเดทีฟ (Oxidative dyes): ใช้สำหรับการเปลี่ยนสีแบบถาวรหรือกึ่งถาวร ยาย้อมชนิดนี้จะซึมซาบเข้าสู่แกนผม โดยใช้ส่วนประกอบสำคัญ เช่น ตัวออกซิไดซ์ (เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์)
● ยาย้อมชนิดไม่ออกซิเดทีฟ (Nonoxidative dyes): ใช้สำหรับเปลี่ยนสีแบบชั่วคราวหรือกึ่งถาวร ซึ่งทำให้สีเคลือบผิวผมโดยไม่เปลี่ยนโครงสร้างเคมี จึงมีผลกระทบน้อยกว่าแต่ไม่ปราศจากความเสี่ยง.
การศึกษานี้มีเป้าหมาย:
การศึกษาใช้การทบทวนวรรณกรรมและประเมินทางพิษวิทยาโดยละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในยาย้อมชนิดออกซิเดทีฟและไม่ออกซิเดทีฟ โดยอิงข้อมูลจากโปรไฟล์พิษวิทยา ข้อค้นพบทางกฎระเบียบ และรายงานกรณีศึกษาที่เผยแพร่
การศึกษาพบว่าส่วนประกอบสำคัญบางชนิดส่งผลกระทบดังนี้:
อาการแพ้สัมผัส เช่น ผื่นแดงและบวมบริเวณใบหน้า รวมถึงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่นโรคพุ่มพวง เกิดจากส่วนประกอบเช่น PPD แม้แต่ยาย้อมผมจากพืชที่มักมองว่าปลอดภัย ก็อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ในผู้ใช้บางรายได้
แม้ว่าการเชื่อมโยงระหว่างการย้อมผมกับมะเร็งกระเพาะปัสสาวะยังคงเป็นที่ถกเถียง การสัมผัสในอาชีพ เช่น ช่างทำผม พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในบางการศึกษา โดยเฉพาะในผู้ที่สัมผัสสารสีในระยะยาว
งานวิเคราะห์เมตาแสดงให้เห็นว่าการใช้ยาย้อมชนิดถาวรอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสสารเคมีที่มีคุณสมบัติรบกวนฮอร์โมน (Endocrine-disrupting chemicals: EDCs)
ยาย้อมผม แม้จะช่วยปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ แต่ก็แฝงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากส่วนประกอบเคมี การศึกษาเน้นย้ำถึงความสำคัญของ:
การเข้าใจถึงความเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและคำนึงถึงทั้งความงามและสุขภาพ
● He, L., Michailidou, F., Gahlon, H. L., & Zeng, W. (2022). Hair Dye Ingredients and Potential Health Risks from Exposure to Hair Dyeing. Chemical Research in Toxicology, 35(6), 901–915.
● Cosmetic Ingredient Review Panel. Various Reports on Hair Dye Safety.